วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเด็นร้อน! มะละกอดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)


ประเด็นร้อน! มะละกอดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) กับสหภาพยุโรป
: ปัญหาที่ต้องร่วมกันการแก้ไข
............................................................................................



                 ประเด็นร้อน สหภาพยุโรปตรวจพบมะละกอตัดแต่งพันธุกรรมหรือ GMOs (Genetically Modified Organiss) ช่วงเดือน มีนาคม – กรกฎาคม ๒๕๕๖ มากถึง ๑๙ ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดียวกัน ในปี ๒๕๕๕ เพิ่มขึ้น ๗ ครั้ง สหภาพยุโรป เตือน นับตั้งเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ จะเริ่มนับ ๑ และเมื่อครบ ๕ ครั้ง จะห้ามนำมะละกอจากประเทศไทยเข้าสหภาพยุโรป ทั้งที่กรมวิชาการเกษตร มีมาตรการให้ตรวจสอบก่อนการส่งออกแต่สถิติกลับเพิ่มขึ้น สหภาพยุโรปเองไม่มั่นใจในการตรวจสอบก่อนส่ง(Test Report) นี่จึงเป็นประเด็นร้อนทีกรมวิชาการเกษตรเรียกประชุมผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก โรงคัดบรรจุ และเกษตรกรผู้ผลิต เพื่อหาแนวทางลดสถิติ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
            เมื่อวิเคราะห์ลึกลงในรายละเอียดในการแจ้งเตือนของสหภาพยุโรป พบว่า ๒ ครั้งเป็นการตรวจพบในมะละกอแปรรูป และอบแห้ง ๑๗ ครั้ง เป็นมะละกอดิบ และที่สำคัญ มีผู้ประกอบการบางรายมีสถิติการพบซ้ำ ๆ หลายครั้ง ดังนั้นประเด็นร้อนที่พูดคุย จึงหนีไม่พ้นการหาแนวทางในการลดจำนวนลงอย่างเร่งด่วน แนวทางที่นำเสนอกันในที่ประชุม แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรก ให้มีการนำแปลงที่มั่นใจส่งตรวจแปลงชั้นแรก และก่อนส่ง ตรวจอีกครั้งตามประกาศเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เป็นการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อเป็นการป้องกัน กลุ่มที่สอง ต้องการให้หยุดส่งแล้วหาทางแก้ไขทีหลังเมื่อได้แนวทางแล้วจึงเริ่มส่งใหม่  กลุ่มที่ สาม นำเข้ามาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อโรงคัดบรรจุ (Establishment List: EL) ก่อนที่จะลุกลามจนยากต่อการแก้ไข จึงเกิดการระดมความคิดกันนานกว่า ๔ ชั่วโมง ที่สุดได้ข้อสรุปเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังไม่รู้ว่าอธิบดีกรมวิชาการเกษตร จะเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร?
กรมวิชาการเกษตร ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕  เรื่องการส่งออกมะละกอไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ สมาพันธรัฐสวิสและไอซ์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ต้องมีผลการตรวจวิเคราะห์ (test  report) มะละกอที่ส่งออกมิใช่มะละกอดัดแปลงพันธุกรรม  แต่เหตุใด หลังจากมีประกาศฉบับดังกล่าวแล้วสถิติจึงกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ นี่เกิดจากสาเหตุใด ลองมาวิเคราะห์ดู ว่าที่จริงแล้ว ใครคือต้นเหตุ ใครต้องรับผิดชอบ แต่ก่อนจะเล่าถึงข้อสรุปในการประชุม ขอทำความเข้าใจ กับ มะละกอ จีเอ็มโอ ก่อนครับ เพราะหลายท่านอาจจะรู้ แต่หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ
จีเอ็มโอ ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Genetically Modified Organisms (GMOs) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ หรือแบคทีเรีย หรือ จุลินทรีย์ ที่ถูกดัดแปลง พันธุกรรมจากกระบวนการทาง พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) โดยจากการตัดเอายีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มาใส่เข้าไปในยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยตามปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรรมชาติ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ที่มีคุณลักษณะ หรือคุณสมบัติตามที่ต้องการซึ่งสิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีน(gene)มาใส่เข้าไปแล้วก็คือ จีเอ็มโอ(GMOs)  ตัวอย่าง เช่น นำยีน(gene) ทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาผสมกับมะเขือเทศเพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้ นำยีน(gene)จากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีน(gene)ของถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช นำยีน(gene)จากไวรัสมาใส่ในมะละกอเพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้ เป็นต้น
โดยพืชที่ได้รับการตัดต่อยีน(gene)จากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) อาจเรียกแบบเฉพาะได้ว่า Transgenic Plant ส่วนคำว่า จีเอ็มโอ(GMOs)เป็นคำที่เรียกสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ได้รับการตัดต่อยีน(gene) พืชจีเอ็มโอ (GMOs)ที่มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ,มะละกอ,ฝ้าย,คาโนลา(Canola)(พืชให้น้ำมัน) และสควอช(Squash) เป็นต้น
เหตุใด มะละกอไทย(ส่วนใหญ่ เป็นพันธ์แขกดำ และแขกญวน)จึงได้รับความนิยมในยุโรป  ในผลดิบ คนเอเชียที่ย้ายถิ่นฐานไปในสหภาพยุโรปนิยมไปทำส้มตำและสลัดต่าง ๆ มีความต้องการในปริมาณมาก และราคาถูกเมื่อเทียบกับผักผลไม้อื่นที่สามารถทดแทนกันได้  จึงเกิดปัญหาปนเปื้อน GMOs ?
เนื่องจากนโยบายเกี่ยวกับ จีเอ็มโอ ประเทศไทยยังอยู่ในขั้นอนุญาตให้ทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอเท่านั้นขณะที่ในมุมของผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศบังคับใช้กฎติดฉลากจีเอ็มโอเมื่อ 11 พ.ค.2546  อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลกที่มีกฎติดฉลากอาหาร จีเอ็มโอที่อ่อนแอ ขณะที่ประเทศในสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นล้วนแต่ปฏิเสธอาหาร จีเอ็มโอ จึงเห็นได้ว่า หลังจากมีการทดลองปลูกมะละกอ GMOs ในแปลงทดลอง และมีผลผลิตหลุดลอดออกมาหลายปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน เมล็ดพันธ์ที่เป็น GMOs ยังสามารถหาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด จึงเป็นต้นเหตุสำคัญให้ปัจจุบัน ทั่วทุกภูมิภาคของไทย เต็มไปด้วยมะละกอ GMOs  และยังได้รับความนิยมจากเกษตรกรผู้ผลิตเอง เนื่องจากผลผลิตทนต่อโรคได้ดี ขายได้ราคา จึงได้รับความนิยมและแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
จากประเด็นร้อนที่เกิดที่สหภาพยุโรป ทางด้านกระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่นออกประกาศเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 สั่งตรวจเข้มผลิตภัณฑ์มะละกอนำเข้าจากไทยหลังจากพบว่าเป็นมะละกอมีการเคลื่อนย้าย(Transgenic plants หรือ GMOs) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากมีรายงานการพบมะละกอจีเอ็มโอจากไทยส่งไปยังสหภาพยุโรป ทำให้ญี่ปุ่น จับตาดูการนำเข้ามะละกอจากไทย แต่เนื่องจากผลมะละกอสดยังไม่ได้รับการอนุญาตให้นำเข้าญี่ปุ่นภายใต้กฎหมายป้องกันโรคพืช(Plant Protection Law) จึงได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากมะละกอแทนและพบว่าผลิตภัณฑ์มะละกออบแห้งนำเข้าจากไทยมีการเคลื่อนย้ายยีนส์เพื่อป้องกันไวรัสจุดวงแหวนในมะละกอ(Papaya Ring Spot Virus) โดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย ขัดต่อพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงออกคำสั่งให้ตรวจผลิตภัณฑ์มะละกออบแห้งเข้มงวดมากขึ้นโดยเพิ่มขึ้นเป็นตรวจร้อยละ 30 ของการนำเข้าทั้งหมด หากพบอีกครั้งจะออกคำสั่งให้ตรวจเพิ่มขึ้นทั้งหมดตามปริมาณนำเข้า(ร้อยละ 100)
                แนวทางป้องกันที่ไม่ให้มะละกอที่ส่งไปสหภาพยุโรป ปนเปื้อน GMOs และอาจจะลุกลามไปประเทศอื่น ๆ จึงต้องหันกลับมาช่วยกันป้องกัน ในขณะเดียวกันคำตอบที่ชัดเจนว่ามะละกอ GMOs เป็นพืชที่ก่ออันตรายก็ยังไม่ชัดเจน การใช้กฎหมายติดฉลากไม่เข้มแข็ง เกษตรกรนิยมใช้เมล็ดพันธุ์ GMOs กฎหมายเรื่องของการนำเข้า และจำหน่ายเมล็ดพันธ์ ยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างจริงจัง การลักรอบนำเข้าเมล็ดพันธุ์ยังเกิดอยู่ ตลาดบางแห่งไม่ปฏิเสธ  แต่บางแห่งปฏิเสธอย่างชัดเจน นี่เองจึงเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก และต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเลย หรือหย่อนยาน นั่นก็หมายถึง อนาคตของมะละกอสดไทยที่เคยสร้างรายได้ให้กับประเทศมีอันต้องหายไปจากคำสั่งซื้อจากลูกค้าอย่างน่าเสียดาย
                ในขณะที่อีกมุมมอง ว่า สหภาพยุโรป พยายามใช้มาตรการกรีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ระบบภาษี(Non-tariff barrier) ก็อาจจะมองได้ เพราะหากใช้กับทุกประเทศที่นำเข้าสหภาพยุโรป ให้เกิดความเป็นธรรม  ก็คงไม่เป็นไร แต่นี่ประเทศไทยถูกใช้ก่อนใคร เช่นเดียวกับ มาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อ EL ที่ใช้กับประเทศไทย มานานกว่า 3 ปี ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านยังไม่ถูกใช้ และยังสามารถส่งออกได้ตามปกติ โดยอ้างว่า ประเทศไทยสถิติตรวจพบมาก แต่เมื่อถามกลับว่า แล้วสถิติที่ตรวจพบนั้นเปรียบเทียบกับจำนวนการนำเข้าหรือไม่ กลับได้รับคำตอบว่า ไม่เทียบกับจำนวนนำเข้า ดูเพียงว่าสถิติเพิ่มขึ้นมาก จึงใช้มาตรการควบคุมพิเศษฯ  EL และเมื่อถามว่าทำไมประเทศเพื่อนบ้านยังส่งได้ คำตอบคือ ประเทศเหล่านั้นยังส่งในปริมาณยังน้อย สถิติเลยพบน้อย จึงยังไม่นำมาตรการควบคุมพิเศษนี้มาใช้ เมื่อพบมากขึ้น อาจจะนำมาตรการควบคุมพิเศษฯ EL มาใช้ในเงื่อนไขต่อไป นี่เองจึงเป็นการนำมาตรการมาใช้ที่ไม่เท่าเทียมและเป็นธรรมต่อประเทศไทย
                พิจารณาถึงเหตุผลดูดี แต่ผู้ประกอบการไทย เกษตรกรไทย กำลังเข้าสู่ทางตัน ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน กลับมีแนวทางแจ่มใส แม้ว่าไม่ใช้ระยะยาว แต่ปัญหาเฉพาะหน้า และระยะสั้น ถือว่าประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการไทยที่สายป่านไม่ยาวก็เป็นอันว่าพับเสื่อกลับบ้าน ส่วนผู้ประกอบการที่ดิ้นรนหาทางออกก็ใช้วิธีส่งออกผ่านประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่เกษตรกรเพื่อบ้านกลับได้รับอณิสงฆ์จากมาตรการเหล่านี้ เพราะอย่าลืมว่า เมล็ดพันธุ์เหล่านี้ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ใครจะเอาไปปลูกประเทศเพื่อนบ้าน พันธุ์พืชเหล่านี้ใช้ระยะเวลาสั้น 45-90 วัน ก็สามารถผลิตพืชผักผลไม้บางชนิดส่งขายได้ แถม ต้นทุน ค่าแรง ค่าปุ๋ย ค่ายาถูกกว่า ไม่มีเงื่อนไขการทำแปลง ไม่ต้องตรวจสอบหน้าด่านเข้ม ดังนั้นประเทศเหล่านี้ถือว่ารับไปเต็ม ๆ
                เมื่อถามว่าหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะทำอย่างไรกับประเด็นปัญหาเหล่านี้ คำตอบที่ได้รับคือเกินขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบ และหาแนวทางแก้ไขเอง นี่เองจึงเป็นปัญหาสำคัญหาทางแก้ไขอย่างไร้กติกา และที่สำคัญยอดการส่งออกของไทยในด้านผักผลไม้จึงลดลงอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ ยากต่อการแก้ไข
                แนวทางแก้ไขปัญหา จีเอ็มโอ ของไทยเมื่อต้องการขายไปสหภาพยุโรป จากผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งสามกลุ่มที่แสนอแนวความคิด สรุปได้ว่า
1.  เป้าหมายในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในครั้งนี้ คือการลดสถิติการตรวจพบให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือไม่พบเลย
2.  ทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรไม่หยุดฉะงัก สามารถส่งออกได้ต่อเนื่อง และไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายจากที่เป็นอยู่
3.    แนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาวจะทำอย่างไร
ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่กรมวิชาการเกษตรฯ อนุญาตให้บริษัทมอนซานโต้ (ไทยแลนด์)จำกัด นำเข้าเมล็ดพันธุ์ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเข้ามาปลูกทดสอบแบบแปลงเปิดในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี 2538 ซึ่งพบการปนเปื้อนของฝ้าย จีเอ็มโอ (บีที) จังหวัดเลย ในปี 2542 ซึ่งกระทรวงเกษตรฯเอง ยอมรับว่าเกิดการปนเปื้อนจริง
หลังจากนั้นเรื่องราวเกี่ยวกับ จีเอ็มโอ ก็หายไปนาน จนกระทั่งเป็นข่าวอีกครั้งในกรณีของ มะละกอ จีเอ็มโอ เมื่อราวปี 2547 กรีนพีซ ลงสำรวจแปลงทดลองมะละกอ จีเอ็มโอ ของกรมวิชาการเกษตรจนเป็นข่าวดังเพื่อบอกว่ามะละกอ จีเอ็มโอ ในแปลงนี้ได้หลุดรอดออกไปภายนอกและอาจผสมกับมะละกอทั่วไปกระทบต่อพันธุกรรมดั้งเดิม และด้วยความห่วงกังวลว่าเรายังไม่รู้ผลระยะยาวของอาหารที่ตัดต่อพันธุกรรม
ในขณะที่กรมวิชาการเกษตรเองไม่ได้ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการมะละกอปนเปื้อน จีเอ็มโอ ซึ่งมีการประกาศเขตควบคุมศัตรูพืช และใช้วิธีการทำลายโดยการฝังกลบ ซึ่งแม้จะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องที่สุด แต่ก็ยังมีการติดตามตรวจสอบปัญหาการปนเปื้อนอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2547-2550 ในหลายพื้นที่ เช่น นครสวรรค์ นครนายก ชุมพร ระยอง ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ระยอง เป็นต้น
ในทางนโยบายเกี่ยวกับ จีเอ็มโอ ประเทศไทยยังอยู่ในขั้นอนุญาตให้ทดลองปลูกพืช จีเอ็มโอ เท่านั้น ขณะที่ในมุมของผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศบังคับใช้กฎติดฉลาก จีเอ็มโอ เมื่อ 11 พ.ค.2546 อย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลกที่มีกฎติดฉลากอาหาร จีเอ็มโอ ที่อ่อนแอ ขณะที่ประเทศในสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นล้วนแต่ปฏิเสธอาหาร จีเอ็มโอ
กฎติดฉลากที่บังคับใช้ในปัจจุบันกำหนดเงื่อนไขว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลืองและข้าวโพด จีเอ็มโอ ใน 3 ส่วนประกอบหลักร้อยละ 5 ขึ้นไปเท่านั้นต้องติดฉลาก (หากมีถั่วเหลืองและข้าวโพด จีเอ็มโอ อยู่ในส่วนประกอบที่ 4, 5, 6 เกินร้อยละ 5 ไม่ต้องติดฉลาก) ส่วนพืช จีเอ็มโอ ชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องติดฉลาก ดังนั้น มะละกอจึงไม่อยู่ในข่ายที่ต้องติดฉลาก


สรุปแนวทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และระยะสั้นที่จะต้องดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาอาจเป็นข้ออ้างในการระงับการนำเข้ามะละกอสดจากประเทศไทย ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่า ผู้ประกอบการที่มีแปลงมะละกอที่ควบคุม GMOs และส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมาอย่างต่อเนื่อง สามารถนำแปลงดังกล่าว พร้อม ชื่อที่อยู่ของแปลงผลิตพร้อมตัวอย่างส่งให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบ GMOs โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเมื่อส่งออก ต้องส่งตรวจสอบตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕  เรื่องการส่งออกมะละกอไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ สมาพันธรัฐสวิสและไอซ์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ต้องมีผลการตรวจวิเคราะห์ (test  report) มะละกอที่ส่งออกมิใช่มะละกอดัดแปลงพันธุกรรม  ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ต้องมีผลการรับรอง(Test Report) สองฉบับ เพื่อประกอบการขอ P/C ในการส่งออกแต่ละครั้ง
การแก้ไขปัญหาระยะยาว ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกมะละกอสดสามารถยื่นแปลงผลิตที่เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลง เมล็ดพันธ์ ระยะติดดอก และผลก่อนเก็บเกี่ยว ส่งให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบ รับรองแปลง ทางกรมฯจะเก็บรวมรวมแปลงต่าง ๆ เพื่อแจ้งให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปส่งออกในสหภาพยุโรป เพื่อเป็นแปลงทางเลือกให้กับผู้ประกอบการทั้งที่มีแปลงของตนเอง และไม่มีแปลงของตนเองต่อไป
การแก้ไข แม้ว่าจะเป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการ และผู้ผลิต จะมิใช่ต้นเหตุของปัญหา แต่เกิดจากหลายฝ่ายที่ต่างฝ่ายต่างคิดในมุมมองที่แตกต่างกัน ปล่อยปะละเลย จนลุกลามเป็นปัญหาใหญ่  ดังนั้นทุกภาคส่วนจะต้องหันกลับมาพูดคุยกันถึงแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และกำหนดเป้าประสงค์ในการแก้ไขปัญหาที่ทุกฝ่ายได้ผลประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้งยังสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง วันนี้แนวทางที่เกิดจากการระดมความคิดเห็น เปิดกว้าง ให้ผู้ผลิตสามารถผลิตต่อไปได้ ผู้ประกอบการยังคงส่งออกได้ตามปกติ ในขณะที่ภาครัฐมีมาตรการที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาร่วมกันอย่างมีเหตุมีผล เหลือเพียงแต่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจะตัดสินใจอย่างไรในข้อสรุปครั้งนี้ ต้องรอดูกัน...
หากทุกภาคส่วนใส่ใจในการแก้ปัญหาร่วมกัน แม้ว่าจะมีเหตุการณ์สุดวิสัยที่เกิดขึ้นจากเจตนาบริสุทธิ์ เชื่อว่าสถิติที่พรุ่งขึ้นในปัจจุบันจะลดลงอย่างน่าพอใจ และนี่เอง คงมีเหตุผลเพียงพอที่สหภาพยุโรปจะไม่ห้ามนำเข้ามะละกอจากประเทศไทย เว้นเสียแต่ว่า ทุกฝ่ายจะทำเพื่อผลประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้ง อันนี้อยู่นอกเหนือเหตุผลที่จะแก้ไขในเชิงยุทธวิธี แต่ต้องแก้ไขในพฤติกรรมของคนให้มีจิตสำนึก รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัย กล้าตัดสินใจ มองเป้าหมายของประเทศ เกษตรกร ผู้ประกอบการเป็นหลัก มิใช่เพื่อความอยู่รอด เพื่อรักษาตำแหน่งความก้าวหน้าของตนเอง  เพราะนี่คือคุณธรรมของคนดีครับ!
......................................................................................................................
ที่มา :
                http://www.thaibiotech.info/what-is-gmos.php
                http://prachatai.com/journal/2013/04/46347
                หนังสือจากกรมการค้าระหว่างประเทศ ที่ พณ ๐๓๐๙.๐๙/ว ๙๑๓ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖
                ประกาศ กรมวิชาการเกษตร วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕  เรื่องการส่งออกมะละกอไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ สมาพันธรัฐสวิสและไอซ์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๕๕





วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ลำไย ผลไม้เศรษฐกิจ ผลิต ขาย อย่างมืออาชีพ

วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ได้รับเชิญจากกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๖ จังหวัดเชียงใหม่ ให้ไปบรรยายพิเศษ ในงาน สัมมนาเชิงวิชาการ “ผลไม้ไทยในทศวรรษหน้า” หัวข้อบรรยาย “สถานการณ์ผลไม้ในต่างประเทศและการเตรียมความพร้อมผลไม้ไทยสู่ AEC” ใช้เวลาชั่วโมงครึ่งในการบรรยาย มีพิธีเปิดช่วงเช้า ในงานมีนิทรรศการงานวิจัยลำไย มีโอกาสเดินดูรอบๆงานก่อนที่จะขึ้นบรรยาย นับว่าได้องค์ความรู้มาบูรณาการให้สอดคล้องกับการตลาดต่างประเทศในปัจจุบันและอนาคตเมื่อเปิด AEC
งานนี้ผู้ร่วมฟังมากกว่า ๓๐๐ คน มีทั้งเกษตรกร นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจ เกินกว่าที่คาดต้องเสริมโต๊ะจนเต็มห้องประชุม แม้จะเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูลำไยของ 8 จังหวัดภาคเหนือ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ตื่นตัว กับการผลิตลำไยนอกฤดูกันมาก ดูแล้วให้รู้สึกแตกต่างจากที่เคยไปบรรยาย ได้เดินทักทายเกษตรหลายกลุ่มหลายจังหวัด รับรู้ว่า กลุ่มเกษตรกรให้ความสนใจการผลิตลำไยนอกฤดู ที่ขายได้ราคาไม่ต้องพึงพาภาครัฐ อบอุ่นและน่ายินดีที่เกษตรกรไทยตื่นตัวกับผลไม้ที่ตัวเองผลิต เดินทางมาจากหลายจังหวัดทั้งใกล้ ไกล ไม่ว่าจะเป็น ๘ จังหวัดภาคเหนือที่ผลิตลำไย หรือนอกเขตที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญอย่าง จันทบุรี  ตาก ฯลฯ สนทนากับเกษตรกรเหล่านั้นอย่างเป็นกันเอง หลากหลายแนวคิด หลายคนประสบปัญหา หลายกลุ่มประสบความสำเร็จอย่าสนใจ ได้ประเด็นน่าสนใจ ผมจะเล่าให้ฟัง
ก่อนจะเหล่าให้ฟัง ขอเอาตัวเลขที่น่าสนใจมาประกอบเพื่อให้เห็นภาพจริงก่อนว่า ทำไมการปลูกลำไยภาคเหนือจึงเกิดปัญหามานานจนกลายเป็นปัญหาการเมือง เกษตรยังคงยากจน ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ฝ่ายการเมืองพยายามชูนโยบายช่วยเหลือประกันราคา ชดเชย ขยายตลาด ที่สุดเกษตรกรก็ยังคงทุกข์ยากมาโดยตลอด ไหนจะเงินงบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ระบบเบิกจ่ายที่ใช้เวลา กฎระเบียบที่ปฏิบัติได้ยาก ที่สุดกว่าเงินจะออกของก็หมด หรือที่โบราณกล่าว “กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้” ได้รับเงินถึงมือเกษตรกรเหลือไม่เท่าไร อย่างไรก็ขาดทุน เกษตรกรจึงไม่อยากพัฒนาคุณภาพปล่อยตามยถากรรม ผลผลิตที่ออกมายิ่งแย่ลง อัตราการผลิตต่อไร่น้อยลง แรงงานหายาก ปุ๋ย ยา สารเคมี ขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง ทุกปี แต่ราคาขายกลับสวนทาง ได้เท่าเดิมมานานกว่า ๒๐ ปี ดังนั้น เมื่อผลผลิตต่อไรต่ำ ต้นทุนสูง ขายได้ราคาเท่าเดิม ก็แสดงว่าราคาที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน(มานาน) คุณภาพด้อยลง ถูกกดราคา ปัจจัยเหล่านี้ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ถูกนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองเพื่อเข้าช่วยเหลือสร้างและรักษาฐานเสียง ที่สุดเงินงบประมาณถูกนำมามาใช้ประกันราคา(ลำไยอบแห้ง)เข้าเก็บในสต็อก และนำออกขายจากภาครัฐที่ไม่ใช่มืออาชีพ ขายถูกบ้างแพงบ้าง มีค่าใช้จ่ายจิปาถะ ที่สุดสรุปรวมความว่า ขาดทุน ขายออกไม่หมดเก็บไว้กลายเป็นของเสีย ตัดเป็นหนี้สูญ แล้วโยนความผิดไปเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการและเกษตรกร นักการเมืองรอยตัว รวยไปตาม ๆ กัน นี่แหละเป็นที่มาของลำไย ผลไม้เศรษฐกิจการเมือง 
เมื่อมองถึงพื้นการผลิต และผลผลิตประมาณการพื้นที่ปลูกลำไยทั้งประเทศในปี 2555 มีจำนวน  990,522ไร่ ผลผลิตรวม 812,167 ตัน เฉลี่ยผลผลิต 820 กก.ต่อไร่ ในขณะที่แห่งผลิตใหญ่ที่สุดอยู่ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ พื้นที่ประมาณ 835,561 ไร่ ผลผลิต 604,497 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 723 กก.ต่อไร่ ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตใน 8 จังหวัดภาคเหนือที่มีผลผลิต มากกว่าร้อยละ 74 ของผลผลิต และกระจุกตัวในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน ของทุกปี โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม จะมีผลผลิตกระจุกตัวมาก ถึง ๑๐๗,๙๕๐ ตัน(๒๕๕๔) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลผลิตเฉลี่ยต่อไรใน 8 จังหวัดภาคเหนือมีอัตราผลผลิตเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั้งประเทศ(820 กก/ไร่) เปรียบเทียบกับจังหวัดในภาคกลาง แล้วจะเห็นได้ว่า ผลผลิตยังต่ำกว่ามาก(ภาคกลาง 2,377 กก./ไร่) หรือเทียบกับจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่สามารถผลิตลำไยได้เฉลี่ยสูงที่สุดในขณะนี้(2,467/ไร่)  ในขณะที่ส่งออกผลผลิตลำไยรวม ในปี ๒๕๔๔ มีผลผลิต ๕๕๖,๖๒๘ ตัน ช่วง ม.ค.-ส.ค.มีผลผลิต  ๓๓๐,๑๕๒ ตัน ในปี ๒๕๕๕ ตั้งแต่ต้นปี ถึงเดือนสิงหาคม ผลผลิตรวม ๓๗๔,๘๒๔ ตัน เทียบเวลาเดียวกัน ปี ๒๕๕๕ เพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๒ และประมาณการจนถึงสิ้นปี น่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ ๔๑๙,๘๐๒ ตัน  จะเห็นชัดเจนว่าปริมาณที่ผลิตได้กับยอดขายไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น ภาวะล้นตลาดจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ราคาจึงตกลงตามกลไกตลาด 
ลำไย : เปรียบเทียบเนื้อที่ให้ผล ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ภาคเหนือ และรายจังหวัด ปี 2554 กับปี 2555

ประเทศ/ภาค/จังหวัด
เนื้อที่ให้ผล
    ผลผลิต 
 ผลผลิตต่อไร่
(ไร่)
(ตัน)
 (กิโลกรัม)
2553
2554
2555
% + /-
2553
2554
2555
% + /-
2553
2554
2555
% + /-
รวมทั้งประเทศ
954,574
967,772
990,522
2.35
525,230
772,099
812,167
5.19
550
798
820
2.76
 ภาคเหนือ
852,442
852,765
870,545
2.08
394,252
593,439
619,837
4.45
462
696
712
2.30
ภาคตะวันออก/เหนือ
50,621
49,004
48,827
-0.36
19,098
22,571
23,180
2.70
377
461
475
3.04
 ภาคกลาง
51,511
66,003
71,150
7.80
111,880
156,089
169,150
8.37
  2,172
  2,365
  2,377
0.51
เชียงราย*
121,971
121,430
120,337
-0.90
46,609
48,693
50,460
3.63
382
401
419
4.49
พะเยา*
54,423
56,603
56,211
-0.69
16,250
20,377
29,346
44.02
299
360
522
45.00
ลำปาง*
26,979
26,672
25,784
-3.33
1,253
4,694
6,626
41.16
46
176
257
46.02
ลำพูน*
251,603
253,040
269,115
6.35
136,341
204,445
208,402
1.94
542
808
774
-4.21
เชียงใหม่*
303,783
304,770
308,074
1.08
152,346
265,456
276,342
4.10
501
871
897
2.99
แม่ฮ่องสอน
2,585
2,646
2,707
2.31
1,336
1,580
1,650
4.43
517
597
610
2.18
ตาก*
16,316
16,316
19,116
17.16
13,310
14,609
13,458
-7.88
816
895
704
-21.34
กำแพงเพชร
10,017
9,920
10,060
1.41
3,376
3,978
4,150
4.32
337
401
413
2.99
สุโขทัย
6,255
6,101
6,217
1.90
2,483
2,569
2,780
8.21
397
421
447
6.18
แพร่*
7,687
7,437
5,481
-26.30
2,800
3,681
2,947
-19.94
364
495
538
8.69
น่าน*
34,165
31,905
31,443
-1.45
12,324
16,718
16,916
1.18
361
524
538
2.67
อุตรดิตถ์
8,530
7,883
8,190
3.89
2,678
2,988
3,140
5.09
314
379
383
1.06
พิษณุโลก
8,128
8,042
7,810
-2.88
3,146
3,651
3,620
-0.85
387
454
464
2.20
เลย
25,391
25,172
24,617
-2.20
9,572
12,259
12,230
-0.24
377
487
497
2.05
หนองบัวลำภู
5,405
4,740
4,677
-1.33
2,103
2,119
2,170
2.41
389
447
464
3.80
อุดรธานี
5,604
5,418
5,572
2.84
1,597
1,896
2,020
6.54
285
350
363
3.71
หนองคาย
4,198
4,110
4,263
3.72
1,814
2,018
2,230
10.51
432
491
523
6.52
ยโสธร
574
531
580
9.23
154
156
180
15.38
268
294
310
5.44
อุบลราชธานี
1,767
1,635
1,711
4.65
885
907
990
9.15
501
555
579
4.32
ศรีสะเกษ
2,334
2,455
2,289
-6.76
714
847
820
-3.19
306
345
358
3.77
ชัยภูมิ
3,349
2,929
2,998
2.36
1,088
1,046
1,090
4.21
325
357
364
1.96
นครราชสีมา
1,999
2,014
2,120
5.26
1,171
1,323
1,450
9.60
586
657
684
4.11
สุพรรณบุรี
1,535
1,018
1,299
27.60
809
561
730
30.12
527
551
562
2.00
สระแก้ว
1,312
1,325
1,392
5.06
705
774
840
8.53
537
584
603
3.25
จันทบุรี
47,960
62,928
67,801
7.74
110,068
154,425
167,270
8.32
  2,295
  2,454
  2,467
0.53
สมุทรสาคร
336
364
300
-17.58
143
166
140
-15.66
426
456
467
2.41
นครปฐม
368
368
358
-2.72
155
163
170
4.29
421
443
475
7.22
8 จว. ภาคเหนือ
816,927
818,173
835,561
2.13
381,233
578,673
604,497
4.46
467
707
723
2.26
หมายเหตุ 8 จังหวัดภาคเหนือ ข้อมูลคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจ ภาคเหนือ 25 เม.ย.55
ที่มา:         สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ที่เอารายละเอียดดังกล่าวมาเล่าให้ฟังก็เพื่อจะให้เห็นว่าการผลิตลำไยในฤดูกาล กระจุกตัว ระหว่างเดือน สิงหาคม-กันยายน ปริมาณก็ล้นตลาด ความต้องการของผู้บริโภคและตลาดใหญ่อย่างจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม เต็มไปด้วยลำไยที่ขนไปขาย ราคาจึงตกลงอย่างน่าใจหาย ถูกกดราคา ที่สุดภาครัฐต้องลงมาช่วยเหลือ ถึงบ้างไม่ถึงบ้าง ปัญหาเกิดขึ้นอย่างนี้มาโดยตลอด คำถามง่าย ๆ คือ  ลำไยปลูกได้ทั่วไป สามารถบังคับให้ออกดอกได้ง่ายกว่ามะม่วง หรือผลไม้อื่น ๆ อายุตั้งแต่ออกดอกจนถึงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวประมาณ 7 เดือน ตลาดส่วนใหญ่สอดคล้องกันทั้งภายในและภายนอก คือ ช่วงเดือนปลายกันยายน ต้นเดือนตุลาคม  ตรงกับวันชาติจีน หรือช่วงไหว้พระจันทร์(ลำไยของไทยหมดพอดี) ช่วงเดือนธันวาคม  เทศกาลปีใหม่สากล ช่วงเดือนมกราคม กุมภาพันธุ์ เทศกาลตรุษจีน ช่วงเดือนมีนาคม  วันเช็งเม้ง(วันไหว้บรรพบุรุษ) ทั้งสี่ช่วง เป็นช่วงที่ลำไยจากทั่วประเทศมีน้อย ในขณะที่ความต้องการมีมาก ต่างกับในช่วงกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน(กลางเดือน) ไม่มีเทศกาลใด ๆ รองรับ เกษตรกรควรวางแผนแบ่งการผลิตให้ครอบคลุมทั้งสี่ช่วงเพื่อกระจายความเสี่ยง หากมีความสามารถในการผลิตได้ คุณภาพดี ผลใหญ่ ด้วยแล้ว รับรองว่าผู้รวบรวม ล้ง ผู้ส่งออกวิ่งแย่งกันซื้อ แย่งกันจองตั้งแต่เป็นดอกด้วยซ้ำ อยู่จังหวัดไหน ไกลแค่ไหนก็ขายได้  
ทุกวันนี้จันทบุรีถูกนำมากล่าวถึงและใช้เป็นโมเดลในการผลิตลำไย หากย้อนดูในการผลิตของเกษตรกรแล้วจะเห็นว่าเขาเหล่านั้นเป็นเกษตรกรที่มีทรัพยากรที่มีความพร้อม คือพร้อมด้านองค์ความรู้ในการผลิตลำไย มีทรัพยากรด้านบุคคลากรดี มีทุนดี มีความเข้าใจเรื่องของตลาดอย่างชัดเจน จึงวางแผนการผลิตได้ตรงกับความของตลาดหลัก อย่าง จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม จันทร์บุรีจึงเป็นทางออกในการแก้ไขลำไยของประเทศ ได้ทั้งคุณภาพ ปริมาณ เวลาที่ไม่ตรงกับช่วงกระจุกตัวของทุกปี 8 จังหวัดภาคเหนือ เกษตรกรหลายกลุ่มจึงใช้จันทบุรีเป็นรูปแบบในการผลิต และได้ผลคุ้มค่ากับการลงทุน
ความสำคัญของความสำเร็จ ต้องอาศัยรวมกลุ่มและพัฒนาตนเองให้ก้าวสู่ เกษตรกรมืออาชีพ ที่มีความพร้อม คือ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และประสบการณ์ ในการผลิตลำไย โดยยึดโยงกับช่วงความต้องการตลาดหลัก ๆ ดังกล่าวเป็นสำคัญ ศึกษา ค้นคว้าหาองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ถ่ายทอดให้สมาชิกกลุ่ม หาแหล่งเงินทุน และแหล่งปุ๋ย สาร ยา และเคมี ที่มีคุณภาพ ราคาเป็นธรรม โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มเล็ก ๆ ที่สมาชิกมีแนวความคิดและเข้าใจระบบตลาดร่วมกัน เสียสละ ทุ่มเท ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ(หลักคุณธรรม และจริยธรรม) มาร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ที่สามารถศึกษาได้จากหน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัยที่ได้ดำเนินการพัฒนาและวิจัยมายาวนาน พัฒนาเรื่องของคุณภาพ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร ให้สูงขึ้น วิธีลดต้นทุนการผลิตในช่วงนอกฤดูกาลอย่างชาญฉลาด เช่นการตัดแต่งกิง การใช้สารอย่างถูกวิธี(ตรวจสอบความบริสุทธิ์) การใส่ปุ๋ย(ตรวจสอบสารอาหารในดินและพืช) และใช้วิธีการผลิตแบบแบ่งส่วนในช่วงความต้องการเพื่อลดความเสี่ยง เพื่อมีรายได้สม่ำเสมอทั้งปี และมีงานทำทั้งปี ปัญหาเรื่องแรงงานจะลดลง คนงานเกิดทักษะ ความชำนาญ มีประสบการณ์ในการผลิต ผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขายได้ราคาสูง แบ่งปันรายได้ให้คนงานอย่างเป็นธรรม การผลิตและขายลำไยจะเติบโตขึ้นไปพร้อม ๆ กัน เกิดความสุขในครอบครัว องค์กร กลุ่ม ชุมชน ขยายตัวสู่จังหวัด และประเทศในที่สุด
                ผมได้พูดคุยกับเกษตรหลายกลุ่มและยิงคำถามที่สำคัญว่า ลำไยทำนอกฤดูได้หรือไม่ ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทำได้” แต่ทำไปแล้วขายได้ราคาไม่คุ้มทุน จึงไม่มีกำลังใจทำต่อ ฟังแล้วให้เกิดความรู้สึกว่า ถ้าราคาขายสูง เกษตรกรมีความสามารถทำได้ การที่จะให้ได้ราคาสูงคุ้มค่าจำเป็นต้องรู้หลักการของการตลาดให้ชัดเจน อันนี้เป็นโจทย์ที่หาคำตอบได้ไม่ยาก แต่ทำไมไม่ทำ คำตอบง่าย ๆ ที่ได้รับจากบางกลุ่มกลับพบว่า ทำยากกว่าภาวะปกติฤดูกาล ที่ไม่ต้องทำอะไร ลำไยออกดอกติดผล ส่วนจะมากน้อยเพียงใด ก็อาศัยธรรมชาติเป็นผู้มอบให้  เกษตรกรไม่ต้องการทำงานยาก ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องลงทุนมาก คำตอบคือ คือได้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ปริมาณมากน้อย(ผลผลิตต่อไร่) เมื่อเกษตรส่วนใหญ่ปล่อยให้เป็นไปแบบธรรมชาติผลผลิตก็ออกมาตรงกันสภาวะกระจุกตัวจนล้นตลาด ผลผลิตไม่มีคุณภาพ จึงเกิดขึ้น ราคาตก รัฐจึงต้องเข้าช่วยเหลือ ช่วยแบบให้เปล่า ให้มากก็ไม่ได้ เพราะนี่คือเงินภาษีประชาชน ให้น้อยก็ถูกประท้วง เพราะเป็นฐานเสียงของนักการเมือง ปัญหาจึงเกิดอย่างที่เห็น กลายเป็นยากจนซ้ำซาก  
การผลิตลำไยนอกฤดูมีเทคนิคที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การนำหลักการบริหารจัดการในเรื่องของการตลาดเป็นตัวนำ และการลดความเสี่ยงในการผลิต ที่ต้องวางแผนผลิตแบ่งเป็นช่วง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้ช่วงเวลาเทศกาลสำคัญของจีน(ตลาด) และใช้การบริหารการผลิตให้สอดคล้อง ในช่วงให้สารเดือนมีนาคม  เก็บผลผลิตเดือนกันยายน  ตรงกับงานชาติจีน ช่วงให้สารเดือนเมษายน  เก็บผลผลิตเดือนธันวาคม  เทศกาลปีใหม่สากล ช่วงให้สารเดือนมิถุนายน  เก็บผลผลิตเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ ก่อนเทศกาลตรุษจีน และ ช่วงให้สารเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม  เก็บผลผลิตเดือนมีนาคม  วันเช็งเม้ง(ไหว้บรรพบุรุษ)
       นอกจากการใช้ตลาดเป็นตัวนำแล้วสิ่งสำคัญอื่น ๆ ที่ละทิ้งไม่ได้ คือ การผลิตลำไยนอกฤดูต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอ เพราะความสมบูรณ์ของต้นลำไย และการแบ่งทำเป็นรุ่น ๆ  หากมีน้ำน้อยควรคำนึงถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่เป็นสำคัญ อย่าผลิตเกินกว่าปริมาณน้ำที่มี เพราะจะทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ หรือวางแผนขยายปริมาณการกักเก็บน้ำให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการของลำไย จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของคุณภาพที่ส่งผลโดยตรงต่อราคาได้เป็นอย่างดี
การเตรียมต้นลำไยยังเป็นหัวใจของการผลิต โดยเฉพาะการตัดแต่งกิ่งที่นิยม มี  2  รูปแบบ  คือ  ทรงเปิดกลางทรงพุ่มและทรงฝาชีหงาย ความสูงประมาณ  2.5-3.0  เมตร  ข้อดีของการตัดแต่งกิ่ง  คือ  ต้นเตี้ยการเก็บเกี่ยวและการจัดการง่าย  ทรงพุ่มโปร่งลดโรคและแมลงระบาด  การตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตดี  ออกดอกติดผลมาก  ผลโตสม่ำเสมอ ตัดแต่งกิ่งแล้ว ควรให้ แตกใบอ่อน  2  ครั้งเป็นอย่างน้อย  ถึงจะกระตุ้นการออกดอก
            เมื่อใบเริ่มแก่จึงเริ่มให้สารโพแทสเซียมคลอเรต  โดยต้องวิเคราะห์ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารคลอเรตก่อน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเป็นสารที่บริสุทธิ์ ทำให้กำหนดปริมาณสารได้ถูกต้อง  และไม่เกิดปัญหากับการออกดอกของลำไยตามมาภายหลัง  เพราะถ้าหากไม่บริสุทธิ์จะทำให้ลำไยออกดอกไม่สม่ำเสมอ เฉลี่ยทำให้ต้นทุนสูง กว่าจะรู้ต้องรอถึง  25 วันขึ้นไปกว่าลำไยจะแทงช่อดอก
วิธีการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตใช้อายุของต้นเป็นหลัก ทำความสะอาดภายในทรงพุ่ม หวานสารคลอเรตในทรงพุ่มและรดน้ำตามให้สารละลายหมด ช่วงเวลาราดสารควรใช้ช่วงตอนเช้าให้ผลดีที่สุด  หลังจาก  25  วัน  ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอกให้เห็น
การให้ปุ๋ย  จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ธาตุอาหารของดินและพืช เพื่อใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องประหยัดค่าใช้จ่าย โดยใส่ปุ๋ยช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยคอกหรือสูตรตัวหน้าสูง  สูตร  28-7-7 ในช่วงการแตกใบอ่อนแต่ละครั้ง  ให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ  เช่น  15-15-15 และเมื่อติดผลเท่าหัวไม้ขีดไฟให้ใส่สูตรเสมอ  สูตร  15-15-15 และเมื่อเมล็ดเริ่มเปลี่ยนสีจากขาวเป็นน้ำตาลให้ใส่สูตรตัวหลังสูง  สูตร  13-13-21

            การผลิตลำไยนอกฤดูให้ประสบความสำเร็จ ตรงกับความต้องการของตลาด วางแผนแบ่งผลิตเป็นช่วง ๆ เพื่อลดความเสี่ยง ให้ความสำคัญต่อการบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์หลังเก็บผลผลิต ตัดแต่งกิ่งให้ถูกวิธีทรงพุ่มโปร่งลดแมลงและโรคระบาด ใส่ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินและพืชเป็นช่วง ๆ ปล่อยให้ลำไยแตกใบอ่อนไม่น้อยกว่า 2 3 ครั้ง วางแผนและคำนวณระยะเวลา ตั้งแต่ให้สารจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตรงกับความต้องการตลาด เตรียมแหล่งน้ำให้ต้นลำไยในช่วงหลังให้สารโปแสเซียมคลอเรต (ที่วิเคราะห์ความบริสุทธิ์) ช่วงดอกเริ่มบานและติดผล ถ้าขาดน้ำดอกและผลจะร่วงและติดผลน้อย ในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วงต้องให้น้ำช่วย หลังใส่ปุ๋ยเคมีให้น้ำตามทุกครั้ง อายุของใบลำไยต้องอยู่ในระยะใบแก่จัด คือ หลังจากแตกใบอ่อนประมาณ 45-60 วัน เป็นระยะที่ได้ผลดีที่สุด ถ้าเป็นระยะใบอ่อนจะทำให้ออกดอกน้อย หรือถ้าพ่นสารทางใบจะทำให้ใบอ่อนไหม้และร่วง ก่อนการใช้สารโปแทสเซียมคลอเรต ไม่ว่าจะเป็นพ่นทางใบหรือให้ทางดิน งดการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเคมี ใส่ปุ๋ยในช่วงที่ลำต้นลำไยมีการแทงช่อดอกแล้ว หากปฏิบัติได้ตามนี้ ผลผลิตจะออกมาเป็นช่วง ๆ ตามแผนที่วางไว้ คุณภาพผลผลิตมีคุณภาพ ผลผลิตต่อไร่สูง ขายได้ตามที่ตลาดต้องการ เกษตรกรมีงานทำทั้งปี มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สะสมความรู้ เพิ่มความชำนาญ เกิดเป็นทักษะ สั่งสมเป็นประสบการณ์ในการผลิตลำไยคุณภาพในปีต่อ ๆ ไป  ลดต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม ขายได้ราคา ตลาดวิ่งมาหา ไม่ทุกข์ใจ ไม่ต้องต้องพึ่งพาใคร นี่คือ “เกษตรมืออาชีพ” ตัวจริงเสียงจริง ที่เกษตรกรอยากเห็น อยากเป็น อยากทำ มากกว่าการเป็น “อาชีพเกษตรกร” ยิ่งทำยิ่งจน จนแบบซ้ำซากไปชั่วนาตาปี....
.................................................................